Skip to main content

ไข้หวัดใหญ่ วายร้ายทำลายสุขภาพ

"ไข้หวัดใหญ่" เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โรคไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัดแต่อาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบ และเสียชีวิตได้


อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว
  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
  • ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้


โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ โดยมากเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แพทย์จะมีการพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) รับประทาน


หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง และสงสัยว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่ โดยมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก ให้รีบมาพบแพทย์เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา


การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ในเด็กสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ในหญิงตั้งครรภ์ควรฉีดเพื่อป้องกันลูกน้อยที่เพิ่งคลอดยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะฉีดวัคซีน เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และช่วยปกป้องคนที่คุณรักไม่ให้ติดไข้หวัดใหญ่ได้

Comments

Popular posts from this blog

เมนูหวานไม่เบา ที่ เบาหวาน ต้องระวัง

 “ โรคเบาหวาน ” ถือเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คุกคามสุขภาพของคนทั่วโลก ทำให้ 3 องค์กรระดับโลกอย่าง สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (IDF) องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติ (UN) ร่วมมือกันกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน “เบาหวานโลก” (World Diabetes Day) ซึ่งตรงกับวันเกิดของ Frederick Banting ผู้ค้นพบอินซูลินรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเลือกวันนี้เพื่อเป็นเกียรติให้กับเขา นอกจากนี้ยังต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายของโรคเบาหวาน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้น โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ติดหวานของคนในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่เมนูที่แฝงไปด้วยน้ำตาลและความหวานอย่างคาดไม่ถึง จะมีอะไรบ้างนั้น ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ *หมายเหตุ* – ปริมาณน้ำตาลส่วนใหญ่ถูกเติมลงไปต้ังแต่กระบวนการปรุงประกอบอาหาร ดังน้ันไม่ควรปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือเครื่องปรุงที่มีรสชาติหวานเพิ่มเติมลงไป – ในกรณีที่เลือกรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลและอาหารมีรสชาติหวานอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงเคร...

กระชายดำ กับ สมรรถภาพเพศชาย

 หลายคนอาจเคยได้ยิน # สรรพคุณของกระชายดำ # สมุนไพรไทย ขึ้นชื่อด้านเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง # เพิ่มสมรรถภาพเพศชาย อีกทั้งอาจรักษาป้องกันโรคบางชนิดได้ เพราะในกระชายดำมีสารฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ฟีนอลิก และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งคาดว่าส่วนประกอบเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการนำกระชายดำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรหลากหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาค้นคว้าถึงสรรพคุณของกระชายดำในบางด้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจก่อนบริโภคกระชายดำ ดังต่อไปนี้ # เสริมสร้างความแข็งแรงแก่สุขภาพ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่สุขภาพร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความอ่อนล้าหลังออกกำลังกายได้ กระชายดำเป็น 1 ในสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ด้วยความเชื่อว่าอาจเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันอาการอ่อนเพลียได้ จึงมีงานค้นคว้าหนึ่งที่พิสูจน์ประสิทธิภาพของกระชายดำโดยให้นักกีฬาฟุตบอล 60 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มทดลอง กลุ่มแรกให้บริโภคสารสกัดจากกระชายดำ 180 มิลลิกรัมทุกวัน ในขณะที่อีกกลุ่มไม่ได้บริโภคสารสกัดจากกระชายดำ แล้วทดสอบสมรรถภาพร่างกายทุกเดือน หลังจากผ่านไป 3 เดือน พบว่าผู้ที่บริโภคสารสกั...

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง รวมทั้งอาการอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน หรือวันละ 8 คน มีผู้เสียชี วิตวันละ 6 คน หรือ 2,195 คน/ปี โดยพบจำนวนผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน การป้องกันโรค สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น เลี่ยงอาหารเค็ม ปิ้งย่างที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทให่เกิดมะเร็ง รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร หากมีอาการปวดท้องเร...