Skip to main content

5 วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายไม่ควรขาด

 #วิตามินซี

ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม

#วิตามินดี
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกระดูก โดยปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแสงแดด ร่างกายอาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารประเภทธัญพืช เห็ด และดื่มนมที่เสริมวิตามินดีเป็นประจำ

#วิตามินเอ
ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก

#แคลเซียม
แคลเซียมช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม นมสด ผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยวไม่หวานจัด) ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น ฟองเต้าหู้) ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาข้าวสาร) ผักใบเขียวเข้ม ผักสีส้ม (เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบยอ ฟักทอง แครอท)

#วิตามินอี
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย วิตามินอีพบมากในอะโวคาโด ถั่วต่างๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหารทุกชนิด

#vitamin4life #สุขภาพ #สารต้านอนุมูลอิสระ


Comments

Popular posts from this blog

เมนูหวานไม่เบา ที่ เบาหวาน ต้องระวัง

 “ โรคเบาหวาน ” ถือเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คุกคามสุขภาพของคนทั่วโลก ทำให้ 3 องค์กรระดับโลกอย่าง สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (IDF) องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติ (UN) ร่วมมือกันกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน “เบาหวานโลก” (World Diabetes Day) ซึ่งตรงกับวันเกิดของ Frederick Banting ผู้ค้นพบอินซูลินรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเลือกวันนี้เพื่อเป็นเกียรติให้กับเขา นอกจากนี้ยังต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายของโรคเบาหวาน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้น โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ติดหวานของคนในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่เมนูที่แฝงไปด้วยน้ำตาลและความหวานอย่างคาดไม่ถึง จะมีอะไรบ้างนั้น ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ *หมายเหตุ* – ปริมาณน้ำตาลส่วนใหญ่ถูกเติมลงไปต้ังแต่กระบวนการปรุงประกอบอาหาร ดังน้ันไม่ควรปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือเครื่องปรุงที่มีรสชาติหวานเพิ่มเติมลงไป – ในกรณีที่เลือกรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลและอาหารมีรสชาติหวานอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงเคร...

กระชายดำ กับ สมรรถภาพเพศชาย

 หลายคนอาจเคยได้ยิน # สรรพคุณของกระชายดำ # สมุนไพรไทย ขึ้นชื่อด้านเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง # เพิ่มสมรรถภาพเพศชาย อีกทั้งอาจรักษาป้องกันโรคบางชนิดได้ เพราะในกระชายดำมีสารฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ฟีนอลิก และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งคาดว่าส่วนประกอบเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการนำกระชายดำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรหลากหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาค้นคว้าถึงสรรพคุณของกระชายดำในบางด้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจก่อนบริโภคกระชายดำ ดังต่อไปนี้ # เสริมสร้างความแข็งแรงแก่สุขภาพ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่สุขภาพร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความอ่อนล้าหลังออกกำลังกายได้ กระชายดำเป็น 1 ในสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ด้วยความเชื่อว่าอาจเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันอาการอ่อนเพลียได้ จึงมีงานค้นคว้าหนึ่งที่พิสูจน์ประสิทธิภาพของกระชายดำโดยให้นักกีฬาฟุตบอล 60 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มทดลอง กลุ่มแรกให้บริโภคสารสกัดจากกระชายดำ 180 มิลลิกรัมทุกวัน ในขณะที่อีกกลุ่มไม่ได้บริโภคสารสกัดจากกระชายดำ แล้วทดสอบสมรรถภาพร่างกายทุกเดือน หลังจากผ่านไป 3 เดือน พบว่าผู้ที่บริโภคสารสกั...

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง รวมทั้งอาการอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน หรือวันละ 8 คน มีผู้เสียชี วิตวันละ 6 คน หรือ 2,195 คน/ปี โดยพบจำนวนผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน การป้องกันโรค สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น เลี่ยงอาหารเค็ม ปิ้งย่างที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทให่เกิดมะเร็ง รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร หากมีอาการปวดท้องเร...